FACULTY OF ENGINEERING

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
เป็นคณะ 1 ใน 16 คณะที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2518 โดยเปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์เดิมเปิดการเรียนการสอนที่ วิทยาเขตเทเวศร์ มีเนื้อที่ทั้งหมด 9 ไร่ 48 ตารางวา ณ สถานที่นี้เคยเป็น “วังรพีพัฒน์” ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรี ดิเรกฤทธิ์ซึ่งเป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ” เมื่อเสด็จในกรมฯ สิ้นพระชนม์วังนี้กลายเป็นโรงเรียนรพีพัฒน์ของเอกชน ตั้งอยู่ได้ ไม่นานกระทรวงอุตสาหกรรม ขอซื้อต่อเพื่อ จัดตั้งเป็นโรงงานผลิตร่ม จากนั้นได้เปลี่ยนเป็นสถานศึกษา ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
กรมอาชีวศึกษาขอซื้อต่อจากกระทรวงอุตสาหกรรม จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูอาชีวศึกษาขึ้น พ.ศ.2496 |
ได้โอนไปสังกัดกรมการฝึกหัดครูเปิดสอน หลักสูตร ปกศ. อาชีวศึกษา พ.ศ.2499 |
ได้โอนกลับมาสังกัดกรมอาชีวศึกษา อีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครู อาชีวศึกษา ประกอบด้วย แผนกช่างวิทยุ และโทรคมนาคม แผนกช่างกลโรงงาน แผนกช่างเชื่อมโลหะแผ่นและแผนกช่างยนต์ทำการผลิตนักศึกษา หลักสูตร 2 ปี ระดับ ประกาศ นียบัตรฝึกหัดครูอาชีวศึกษา พ.ศ.2504 |
ได้ขยายหลักสูตร 2 ปี เป็น 3 ปี และได้ยุบแผนกช่างไม้ครุภัณฑคงเหลือ 6 แผนก พ.ศ.2509 |
บริเวณส่วนที่เป็นวังรพีพัฒน์ได้ถูกรื้อ เป็นหอประชุมหรืออาคารเอนกประสงค์ในปัจจุบัน พ.ศ.2510 |
วิทยาลัยครูอาชีวศึกษาจึงได้เปลี่ยนเป็นวิทยาเขตเทเวศร์ เป็น 1 ใน 31 วิทยาเขต ที่สังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เปิดสอน หลักสูตรระดับ ปวส. และ ปม. และได้จัดตั้งคณะวิศวกรรมเทคโนโลยี ณ สถานที่แห่งนี้ด้วยซึ่งเป็นคณะที่เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมศาสตร์ และสาขาคุรุศาสตร์ อุตสาหกรรม พ.ศ.2518 |
วิทยาเขตเทเวศร์ได้งดการผลิตนักศึกษาระดับ ปวส. ไว้เป็นการชั่วคราวทั้งนี้เพื่อเร่งรัดผลิตนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี และเพิ่มสาขาวิศวกรรมศาสตร์ และสาขาคุรุศาสตร์ อุตสาหกรรม พ.ศ.2524 |
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ เป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (RAJAMANGALA INSTITUTE OF TECHNOLOGY)
ได้มีนโยบายและจัดทำโครงการ การย้ายคณะต่างๆ ไปยังศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล โดยมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 740 ไร่ พ.ศ.2530 |
คณะวิศวกรรมศาสตร์เทคโนโลยีได้ลดการผลิตนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาคุรุศาสตร์อุตสาหกรรมลง และเพิ่มสาขา วิศวกรรมศาสตร์ตามความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน พ.ศ.2532 |
อาคารและสิ่งก่อสร้างของคณะฯ ส่วนใหญ่ได้ก่อสร้างเสร็จ รวม 15 หลัง ณ ศูนย์กลางสถาบันฯ ต.คลองหก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี พ.ศ.2533 |
ได้มีการปรับปรุงพื้นที่ และอาคารพร้อมจัดตั้งห้องปฏิบัติการของภาควิชาต่างๆ และทำการย้ายเครื่องมือ อุปกรณ์ และครุภัณฑ์ จากวิทยาเขตเทเวศร์ ไปติดตั้งที่ศูนย์กลางสถาบันฯ จนกระทั่งสามารถย้ายการเรียนการสอนบางส่วนไปดำเนินการได้เมื่อปีการศึกษา 2536 พ.ศ.2533-2535 |
คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2535 มีมติให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ร่วมกับทบวงมหาวิทยาลัย เพิ่มปริมาณการผลิตกำลังคนในสาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรมให้มากขึ้น เพื่อให้ทันต่อความต้องการ และสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ สถาบันฯ จึงได้ให้มีการจัดตั้งคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม แยกออกจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ.2535 |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้มีการแบ่งส่วนราชการใหม่ ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการดังนี้คือ 1. สำนักงานเลขานุการคณะฯ 2. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา 3. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า 4. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล 5. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ 6. ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งทอ 7. ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม 8. ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 9. ภาควิชาวิศวกรรมเคมี 10. ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและโลหะการ 11. ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร |
ปัจจุบัน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีภาควิชาต่างๆ รวม 10 ภาควิชา มีพื้นที่ใช้งานทั้งหมด 43,462 ตารางเมตร มีอาคารเรียน และอาคารปฎิบัติการ 25 หลัง นอกจากนี้คณะวิศกวรรมศาสตร์มีศูนย์ต่างๆ ทั้งหมด 4 แห่ง คือ
1. ศูนย์เทคโนโลยีเครื่องจักรกลอัตโนมัติ
2. ศูนย์นวัตกรรมระบบราง
3. ศูนย์วิจัยพลังงาน
4. ศูนย์ปิโตเคมี (ข้อมูลยังไม่สมบูรณ์)
รายนามคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์
1. ดร.สุรเชษฐ์ สิทธิชัยเกษม 1 ตุลาคม 2520 – 7 กันยายน 2521
2. รศ.ศรีเครือ โพวาทอง 15 มกราคม 2522 – 15 มกราคม 2530
3. รศ.สมศักดิ์ อิทธิรัตนสุนทร 15 มกราคม 2530 – 15 กรกฎาคม 2532
4. ผศ.ดร.ชาญชัย ศิริวัฒน์ 15 กรกฎาคม 2532 – 15 ตุลาคม 2534
5. รศ.ดร.ศักดิ์ กองสุวรรณ 16 ตุลาคม 2534 – 31 พฤษภาคม 2538
6. ผศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ 1 มิถุนายน 2538 – 2 มกราคม 2540
7. ผศ.เฉลิม มัติโก 2 มกราคม 2540 – 31 ธันวาคม 2543
8. อ.ประทวน กลิ่นจำปา 2 มกราคม 2544 – 8 พฤษภาคม 2544
9. ผศ.เฉลิม มัติโก 9 พฤษภาคม 2544 – 30 ตุลาคม 2545
10. ผศ.ดร.สมชัย หิรัญวโรดม 1 พฤศจิกายน 2545 – 8 กุมภาพันธ์ 2554
11. ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด 9 กุมภาพันธ์ 2554 ถึง … … 2557
12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวกร อ่างทอง มกราคม 2557 ถึง ปัจจุบัน